วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กลุ่มที่ 4



Ring of Fire

     ตามรอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกว่า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีก แม้เราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้ว นักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ว่า Ring Of Fire เช่นเดิม เพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมาก

    จะเห็นได้ว่า เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต "วงแหวนไฟ" หรือเขตรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งต้องเผชิญภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง 

    Ring of Fire มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด สึนามิ ซึ่งสรุปง่ายๆได้เป็นข้อๆ ดังนี้

     1.โลกของเราทั้งส่วนที่เป็นมหาสมุทรและทวีปประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลก(plates) เป็นชิ้นๆต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์  ดังนั้น plates เหล่านี้จึงมีทั้งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (oceanic plates) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป(continental plates) ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 70-250 กิโลเมตร

     2.plates เหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการหมุนเวียนหรือไหลวน ของหินหลอมละลายภายในโลกที่รองรับ plates เหล่านี้อยู่

     3.การเคลื่อนที่ของ plates เหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดที่ไหน เมื่อไรและด้วยความรุนแรงเท่าใด

     4.บริเวณรอยต่อของ plates เหล่านี้ที่เกิดขึ้นแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า วงแหวนไฟ(Ring of Fire)

     5.ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะถูกล้อมด้วยวงแหวนไฟ

    การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ล้วนมีผลมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งเมื่อขอบเปลือกโลกชนกันก็เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้ยืนยันว่าการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาเป็นร้อยหรือเป็นพันปี และความเสียหายจะจำกัดเฉพาะจุดเท่านั้น

    เขตอันตรายของโลกก็คือบริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเรียกกันว่า “วงแหวนไฟ” นี้ ด้วยเป็นเขตที่มีภูเขาไฟเรียงรายและทำนายกันว่าจุดเสี่ยงมากที่สุดก็คือ ญี่ปุ่นกับแคลิฟอร์เนียและลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา


แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นทวีป แผ่นมหาสมุทรที่หนักกว่าจะมุดลงใต้แผ่นทวีปและหลอมละลายกลายเป็นหินหลอมละลายและถูกดันออกมาตามรอยแยกในชั้นหินของแผ่นทวีป เกิดเป็นแนวภูเขาไฟ
tectonics-subduct



กลุ่มที่ 2

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทือกเขาแอลป์ (Alps)

เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ (Mont Blanc) ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี
ภูเขาแอลป์ปกคลุมพื้นที่ถึง 2 ใน 3 ของออสเตรีย มันกินอาณาบริเวณกว้างจนเกือบถึงทางตะวันออกสุดของประเทศ นั่นคือ เวียนนา วิวทิวทัศน์อันงดงามและอากาศบริสุทธิ์ช่วยการันตีว่าผู้มาเยือนจะสามารถหลบหลีกความกดดันที่เผชิญอยู่ทุกวันและพบกับการพักผ่อนที่แท้จริงได้ที่นี่


แผ่นทวีปชนกับแผ่นทวีป (Plates  ทำให้เพลตที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าเกิดการโก่งตัวเกยสูงขึ้นกลายเป็นเทือกเขา เช่นเทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการชนกันของเพลตอินเดียและเพลตเอเชีย เทือกเขาแอลป์ (Alps) ในทวีปยุโรป เทือกเขาร็อกกี้ (Rocky) และเทือกเขาแอปปาเลเชียน (Appalachian) ในทวีปอเมริกาเหนือ เกิดจากการชนกันของเพลตอเมริกาเหนือกับเพลตแอฟริกา และเทือกเขาภูพานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
tectonics-collide

กลุ่มที่ 1

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รอยเลื่อน San Andrea’s




รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส (San Andreas Fault) เป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มีความยาวเป็นระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตร พาดผ่านใกล้เมืองสำคัญของประเทศ ได้แก่ แซนดีเอโก ลอสแอนเจลิส และแซนแฟรนซิสโก รอยเลื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือกับแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกเคลื่อนที่สวนกัน โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือจะเคลื่อนตัวลงใต้ แต่แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกจะเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ ทำให้เกิดการเสียดสีและแตกเป็นแนวรอยเลื่อนอย่างเห็นได้ชัดเจน และเกิดแผ่นดินไหวขึ้นถ้ามีการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง ซึ่งแผ่นดินไหวในบริเวณนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่มีความรุนแรงมาก อยู่ในระดับแมกนิจูด 2.0 ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวระดับเบาจนคนอาจจะไม่มีรู้สึก แต่มีการคาดการณ์กันว่าแผ่นดินไหวในแมกนิจูด 6.0 ขึ้นไปจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุก 20-30 ปี 






รอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกัน (Transform Boundary) เมื่อแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่สวนกัน ทำให้เกิดเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ขึ้น มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง หากเปลือกโลกเคลื่อนที่กระทบกันอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน และเกิดแผ่นดินไหวได้ เช่น
tectonics-slide
รอยเลื่อน San Andrea’s ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ตัวอย่างของการเคลื่อนที่ผ่านกัน แยกแผ่นเปลือกโลก Pacific ออกจากแผ่นเปลือกโลก North America ในขณะที่เคลื่อนผ่านกัน แผ่นเปลือกโลกส่วนใหญ่จะเลื่อนผ่านกันทางด้านข้าง ทำให้เกิดการทรุดตัวและยกตัวของพื้นดินน้อยกว่าการเคลื่อนที่ออกจากกันหรือเข้าหากัน จุดสีเหลืองข้างล่างแสดงตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวตามขอบของระบบรอยเลื่อนนี้ที่บริเวณอ่าวซานฟรานซีสโก