วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กลุ่มที่ 4



Ring of Fire

     ตามรอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกว่า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีก แม้เราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้ว นักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ว่า Ring Of Fire เช่นเดิม เพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมาก

    จะเห็นได้ว่า เพราะอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขต "วงแหวนไฟ" หรือเขตรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งต้องเผชิญภัยแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง 

    Ring of Fire มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด สึนามิ ซึ่งสรุปง่ายๆได้เป็นข้อๆ ดังนี้

     1.โลกของเราทั้งส่วนที่เป็นมหาสมุทรและทวีปประกอบไปด้วยแผ่นเปลือกโลก(plates) เป็นชิ้นๆต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์  ดังนั้น plates เหล่านี้จึงมีทั้งแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร (oceanic plates) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป(continental plates) ซึ่งมีความหนาตั้งแต่ 70-250 กิโลเมตร

     2.plates เหล่านี้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเนื่องจากมีการหมุนเวียนหรือไหลวน ของหินหลอมละลายภายในโลกที่รองรับ plates เหล่านี้อยู่

     3.การเคลื่อนที่ของ plates เหล่านี้เป็นต้นเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดที่ไหน เมื่อไรและด้วยความรุนแรงเท่าใด

     4.บริเวณรอยต่อของ plates เหล่านี้ที่เกิดขึ้นแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า วงแหวนไฟ(Ring of Fire)

     5.ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะถูกล้อมด้วยวงแหวนไฟ

    การระเบิดของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวกับการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ล้วนมีผลมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งเมื่อขอบเปลือกโลกชนกันก็เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการได้ยืนยันว่าการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาเป็นร้อยหรือเป็นพันปี และความเสียหายจะจำกัดเฉพาะจุดเท่านั้น

    เขตอันตรายของโลกก็คือบริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเรียกกันว่า “วงแหวนไฟ” นี้ ด้วยเป็นเขตที่มีภูเขาไฟเรียงรายและทำนายกันว่าจุดเสี่ยงมากที่สุดก็คือ ญี่ปุ่นกับแคลิฟอร์เนียและลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา


แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นทวีป แผ่นมหาสมุทรที่หนักกว่าจะมุดลงใต้แผ่นทวีปและหลอมละลายกลายเป็นหินหลอมละลายและถูกดันออกมาตามรอยแยกในชั้นหินของแผ่นทวีป เกิดเป็นแนวภูเขาไฟ
tectonics-subduct



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น